Custom Search

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประตูชุมพล อ. เมือง จ.นครราชสีมา








ประตูชุมพล อ. เมือง จ.นครราชสีมา

ข้อมูล

ตั้งอยู่ด้านหลังอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองหน้าด่านเมื่อ พ.ศ. 2199 อันเป็นปีที่พระองค์เสด็จขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา และสร้างกำแพงประตูเมืองอย่างแข็งแรง โดยมีช่างชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นมิตรประเทศกับกรุงศรีอยุธยาในขณะนั้น เป็นผู้ออกแบบผังเมือง เมืองนครราชสีมาในขณะนั้นมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 1,000 x 1,700 เมตร เดิมมีประตูเมืองทั้งหมด 4 ประตู ได้แก่ ประตูพลแสนด้านทิศเหนือ ประตูพลล้านด้านทิศตะวันออก ประตูไชยณรงค์ด้านทิศใต้ และประตูชุมพลด้านทิศตะวันตก ปัจจุบันเหลือเพียงประตูชุมพลเท่านั้นที่เป็นประตูเมืองเก่า ส่วนอีกสามประตูได้สร้างขึ้นใหม่ ลักษณะประตูชุมพลเป็นประตูเชิงเทิน ก่อด้วยหินก้อนใหญ่และอิฐ ฉาบด้วยปูน ส่วนบนเป็นหอรบสร้างด้วยไม้แก่นหลังคามุงกระเบื้อง ประดับด้วยช่อฟ้า กระจังและนาคสะดุ้ง กำแพงต่อจากประตูทั้งสองข้างก่อด้วยอิฐ ส่วนบนสุดทำเป็นรูปใบเสมา

การเดินทาง

จากกรุงเทพฯ ผ่าน จ.สระบุรี มาทาง จ.นครราชสีมา เข้าตัวเมืองนครราชสีมา จากนั้นสังเกตุด้านขวามือของท่าน โดยจะมีป้ายบอกทาง ให้ท่านเลี้ยวขวา แล้วขับตรงไปประมาณ 800 เมตร ก็จะพบประตูชุมพล อยู่ทางด้านขวามือของท่าน ซึ่งอยู่ด้านหลังอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (อนุสาวรีย์ย่าโม)

สถานที่ท่องเที่ยว จ.นครราชสีมา


สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ













สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต . สุรนารี อ . เมือง จ . นครราชสีมา

ข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน บ้านโกรกเดือนห้า ซึ่งอยู่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา คาดว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินแห่งแรก และแห่งเดียวของทวีปเอเชีย รวมทั้งเป็น 1 ใน 7แห่งของโลก พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินและธรณีวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ ในที่ดินสาธารณะ 80 ไร่ 2 งาน 15 ตารางวา ของบ้านโกรกเดือนห้า ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2543

การเกิดปรากฏการณ์ไม้กลายเป็นหิน ไม้กลายเป็นหิน (Petrified Wood) เป็นซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลของพืชโบราณที่มีอายุนับหมื่นปีไปจนถึงหลายร้อย ล้านปีก่อน โดยกำเนิดจากไม้ที่ถูกฝังลึกอยู่ใต้ดิน และมีสารละลายน้ำใต้ดินแทรกซึมเข้าไปตกตะกอนหรือตกผลึกเป็นแร่แทนที่เนื้อ ไม้ที่ค่อย ๆ ผุสลายตัว จนกระทั่งแทนที่ทั้งหมดและกลายเป็นหิน เนื่องจากมีแร่องค์ประกอบและสารมลทินต่าง ๆ กัน ไม้กลายเป็นหินจึงมีหลากหลายสีสัน นอกจากนี้แล้วยังได้ขุดค้นพบซากฟอสซิลช้างประมาณ 8 สกุลด้วยกัน เช่น ช้างกอมโฟธีเรียม ช้างโปรไดนธีเรียม ช้างโปรตานันคัสช้างสเต ช้างสเตโกดอน เป็นต้น

สอบถามรายละเอียด สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ณ จังหวัดนครราชสีมา เฉลิมพระเกียรติ บ้านโกรกเดือนห้า ต . สุรนารี อ . เมือง จ . นครราชสีมา 30000




อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อ. เมือง จ.นครราชสีมา




























อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อ. เมือง จ.นครราชสีมา

ข้อมูล

เป็นอนุสรณ์แด่วีรกรรมอันกล้าหาญของวีรสตรีไทย หรือย่าโม ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันติดปากโดยทั่วไป สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2476 ตั้งอยู่กลางเมือง ชาวต่างถิ่นที่แวะมาเยือนและชาวเมืองโคราชนิยมมาสักการะและขอพรจากย่าโมอยู่ เสมอ อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำ สูง 1.85 เมตร หนัก 325 กิโลกรัม แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทาน ในท่ายืน มือขวากุมดาบ ปลายดาบจรดพื้น มือซ้ายท้าวสะเอว หันหน้าไปทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนฐานไพทีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองซึ่งบรรจุอัฐิของท่านท้าวสุ รนารีมีนามเดิมว่า คุณหญิงโม เป็นภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ได้ยกทัพเข้ายึดเมืองโคราช คุณหญิงโมได้รวบรวมชาวบ้านเข้าสู้รบและต่อต้านกองทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่ง เวียงจันทน์ไม่ให้ยกมาตีกรุงเทพฯได้เป็นผลสำเร็จ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาคุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี ประชาชนพร้อมใจกันจัดงานเฉลิมฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารีขึ้นระหว่าง วันที่ 23 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน เป็นประจำทุกปีเพื่อเป็นการระลึกถึงคุณความดีของท่าน

การเดินทาง

จากกรุงเทพฯ ผ่าน จ.สระบุรี มาทาง จ.นครราชสีมา เข้าตัวเมืองนครราชสีมา จากนั้นสังเกตุด้านขวามือของท่าน โดยจะมีป้ายบอกทาง ให้ท่านเลี้ยวขวา แล้วขับตรงไปประมาณ 800 เมตร ก็จะพบอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (อนุสาวรีย์ย่าโม) จะอยู่ทางด้านขวามือของท่าน


วนอุทยานถ้ำปลา อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน































วนอุทยานถ้ำปลา อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน

ข้อมูล

ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยผา ตำบลห้วยผา บริเวณโดยรอบเป็นลำธารและป่าเขา ถ้ำปลาตั้งอยู่บริเวณเชิงเขามีลักษณะเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 2 เมตร ลึก 1.50 เมตร ภายในแอ่งน้ำมีน้ำไหลออกจากถ้ำใต้ภูเขาอยู่ตลอดเวลา และมีปลาตัวโตๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เรียกชื่อว่าปลามุงหรือปลาคัง หรือปลาพลวง เป็นปลามีเกล็ดขนาดใหญ่ในวงศ์เดียวกับปลาคาร์พ และถึงแม้จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่มีใครกล้าทำอันตราย เนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นปลาเจ้า หากใครนำไปรับประทานแล้วจะต้องมีอันเป็นไป ปัจจุบันบริเวณอุทยานถ้ำปลาได้รับการปรับปรุง เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักแวะมาพักผ่อนที่วนอุทยานฯแห่งนี้

วนอุทยานถ้ำปลาเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00-19.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

ห่างจากตัวเมืองประมาณ 17 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1095 ( แม่ฮ่องสอน - ปาย) เส้นทางลาดยาง สามารถเดินทางไปชมได้ทุกฤดูกาล


สินค้ารวม